รู้จักอัลกอริทึมแบบทำซ้ำ (Loop) กัน!
การทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เป็นการนำคำสั่งมาทำงานซ้้ำๆ หลายรอบ จะทำงานกี่รอบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นักเขียนโปรแกรมกำหนดไว้
ซึ่งอาจจะเป็นการกำหนดจำนวนรอบที่แน่นอน เช่น ตั้งใจจะวิ่งรอบสนาม 3 รอบคือรู้แน่นอนว่าจะทำงานกี่รอบ
หรือแบบจำนวนรอบไม่แน่นอน เช่น ตั้งใจจะวิ่งรอบสนามไปเรื่อยๆ เหนื่อยเมื่อไหร่จึงจะหยุดวิ่ง คือไม่แน่ชัดว่าจะทำงานกี่รอบ
CodeLab ขอยกตัวอย่างให้เข้าใกล้ตัวมากขึ้นกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำแบบวนซ้ำ เช่น
การแปรงฟันเอ้ะ!
การแปรงฟันเป็นกิจกรรมที่ทำแบบวนซ้ำยังไงกัน ?ขั้นตอนที่ต้องซ้ำ คือ ขั้นตอนการแปรงฟันและบ้วนปากและจะหยุดทำก็ต่อเมื่อ ฟันสะอาดแล้ว
นอกจากแปรงฟันแล้วยังการรับประทานอาหาร
ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทำแบบวนซ้ำเพราะน้องๆ จะรับประทานอาหารโดยตักอาหารเข้าปากหลายๆ คำ (ทำซ้ำ) จนกระทั่งอิ่มแล้วจึงหยุดรับประทาน
สิ่งสำคัญสำหรับการทำงานแบบวนซ้ำคือ เงื่อนไขเงื่อนไขจะเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการเข้าไปทำงานหรือไม่ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้าไปทำงานเมื่อทำงานเสร็จแล้วก็จะมาตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง และก็จะทำงานไปเรื่อยๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงอยู่เสมอ โปรแกรมจะหยุดทำงานก็ต่อเมื่อผลการตรวจสอบเงื่อนไขในรอบใด รอบหนึ่งเป็นเท็จ
ใครมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำแบบวนซ้ำกันได้ มาแชร์กันครับ
ทดลองเรียน ฟรี https://codelab.csithailand.com/about-us/
สนใจ Inbox สอบถาม & ปรึกษาทุกเรื่องของ Codingm.me/CodeLabByKruT
หรือ Line : https://lin.ee/yWlVRmC
086-611-6911
#คอร์สปิดเทอม#ปิดเทอม#coding#โค้ดดิ้งเด็ก#วิทยาการคำนวณ#สอนโค้ดดิ้ง#CodeLab#CodeLabฝึกทักษะการแก้ปัญหาสำหรับเด็ก#โค้ดดิ้งกรุงเทพ#โค้ดดิ้งนนทบุรี