พ่อแม่ที่กำลังเจอปัญหาลูกติดเกมส์ ปิดจอเมื่อไหร่เป็นอาละวาดทันที วันนี้ครูทีมีคำแนะนำ
ก่อนอื่นมาเข้าใจระดับความรุนแรงของการติดเกม เนื่องจาก”เด็กติดเกม” ทางการแพทย์ ไม่เท่ากัน พ่อแม่ผู้ปกครอง เห็นลูกหลานตัวเองเล่นเกมอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรืออยู่หน้าโทรทัศน์นานสักหน่อย ก็เรียกว่า “ติดเกม” แล้ว แต่แท้จริงแล้วเป็นการติดทางใจ หากพ่อแม่อยากรู้ว่าลูกติดเกมไหม ดูได้จากระดับ ดังต่อไปนี้
1. ชอบ แต่ไม่ได้ติด
ทุกคนมีความชอบได้แต่ต้องไม่เสียการควบคุมตนเอง บางคนชอบร้องเพลง บางคนชอบอ่านหนังสือวรรณกรรมเยาวชน ขณะที่บางคนชอบเล่นกีฬา ความชอบเหล่านั้นทำให้เจ้าตัวมีความสุข แต่ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก ซึ่งมีหลายทางเลือก
2. คลั่งไคล้
เริ่มไม่ทำกิจกรรมอื่น คนที่คลั่งไคล จะเริ่มคุมตัวเองไม่ได้ เช่น วันนี้ตั้งใจจะไม่เล่นเกม พยายามบอกตัวเองว่างดเล่น 1 วัน แต่อดใจไม่ได้คุมตัวเองไม่ได้ สุดท้ายก็เล่นเหมือนเดิมการคลั่งไคลยังไม่ถึงขั้นติด แต่เสียการควบคุมตนเอง
3. การติด
อาการของเด็กติดเกมโดยทั่วไปสังเกตได้จากเริ่มเสียการท่าหน้าที่ รวมถึงทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลง เช่น
• ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ท่าให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลาย ๆชั่วโมงหรือเล่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน
• หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะเกิดการต่อต้าน หรือแสดงอาการหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นอาละวาด
• การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียน หรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม รวมถึงการเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
• บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โกหก ดื้อต่อต้าน แยกตัวเก็บตัว เป็นต้น
หมอแนะ! วิธีป้องกันไม่ให้ลูกติดเกมการเล่นเกมนั้น มีข้อน่าอยู่ตามหลัก “3 ต้อง 3 ไม่”
3 ห้อง ที่พ่อแม่ต้องสอนลูก ได้แก่
• ต้องก่าหนดเวลาเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
• ต้องตกลงโปรแกรมและเลือกประเภทเกมให้ลูกเชนเกมบริหารสมอง ลดเกมที่เสี่ยงความ
ก้าวร้าวอย่างการฆ่ากันยิงกัน พ่อแม่ต้องอยู่ด้วย
• ต้องเล่นกับลูก เพื่อสอนให้คำแนะนำกันได้
3 ไม่ ที่พ่อแม่ต้องห้ามให้ลูกท่าเด็ดขาด ได้แก่
• พ่อแม่ไม่เล่นเป็นตัวอย่าง
• ไม่เล่นในเวลาครอบครัว
• ไม่เล่นในห้องนอน
เกมที่เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงอายุ
• เด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ ไม่ควรให้เล่นเกมโดยเด็ดขาด
• เด็กที่มีอายุระหว่าง 3-6 ขวบ ควรเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการศึกษา และต้องมีผู้
ปกครองควบคุม
• เด็กที่มีอายุ 6 ขวบขึ้นไป สามารถเล่นเกมอื่นๆ ได้ตามที่กาหนดไว้
• เด็กที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป หลีกเลี่ยงเกมที่มีเนื้อหาความรุนแรงมากเกินไป เช่น ฉากต่อสู้นองเลือด
และห้ามเล่นเกมที่มีการวางแผนฆ่าศัตรูเพศสัมพันธ์ ค่าหยาบคาย การพนั้น และยาเสพติด
ติดต่อทดลองเรียนได้ที่
Line : https://lin.ee/yWlVRmC
โทร : 086-611-6911
#CodeLab
#CodeLabByKruT
#วิทยาการคำนวณbyครูที
#พัฒนาทักษะ
#ฝึกทักษะ
#เรียนฟรี