ลูกบาศก์มหัศจรรย์ อีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะให้น้องๆ
รูบิคถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1974 โดย Erno Rubik ศาสตราจารย์และสถาปนิกชาวฮังการี วัตถุประสงค์แรกคือการสร้างอุปกรณ์ที่ช่วยให้เด็กวัยเรียนเข้าใจโครงสร้างของวัตถุที่มีมิติต่าง ๆ โดยไม่คาดคิดว่าเจ้าลูกบาศก์มหัศจรรย์จะกลายเป็นของเล่นลับสมองที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย จนถึงขั้นมีการจัดการแข่งขันระดับโลก รูบิคหนึ่งลูกสามารถจัดเรียงสลับสีกันไปมาได้มากถึง 43 ล้านล้านล้านรูปแบบ เกมนี้จึงมีความซับซ้อนและต้องใช้หลากหลายทักษะประกอบกัน จึงมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ
1. ช่วยพัฒนาความสามารถในการจดจำในการไขปริศนาเพื่อหมุนสลับให้รูบิคทั้ง 6 ด้านเรียงสีอย่างถูกต้อง เด็กๆ จะต้องจดจำการเคลื่อนไหวของสี่เหลี่ยมสีสันสดใสแต่ละชิ้น ซึ่งในระหว่างนั้นสมองจะเปิดใช้งานระบบหน่วยความจำและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
2. ฝึกทักษะการวิเคราะห์เด็กๆ จะต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ในระหว่างที่ค้นหาวิธีแก้ปัญหา อย่างที่บอกไปข้างต้นว่ารูบิคสามารถเรียงสลับกันได้ประมาณ 43 ล้านล้านล้านรูปแบบ จึงเป็นเกมที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ ในแง่ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างส่วนต่าง ๆ ของวัตถุ
3. ฝึกสมาธิและความอดทนเซียนระดับโลกสามารถแก้ปริศนาของรูบิคได้ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่สำหรับมือใหม่นับว่าเป็นเกมที่ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลามาก การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเกมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักสำคัญในการเคลียร์รูบิคให้สำเร็จ เด็กที่เล่นรูบิคเป็นประจำจึงได้ฝึกสมาธิและความอดทนไปในตัว
4. ความคิดสร้างสรรค์ รูบิคเป็นเกมที่สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เล่นหาทางออก ซึ่งเราสามารถใช้วิธีการเล่นที่หลากหลายเพื่อเอาชนะปริศนาตรงหน้า หากวิธีแรกไม่สำเร็จก็ต้องทดลองหาวิธีใหม่ไปเรื่อยๆ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ จึงพัฒนาขึ้นในระหว่างพยายามสร้างวิธีที่แตกต่างเพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จ
เครดิต : motherandcareCodeLab
เรานำเจ้าลูกบาศก์มหัศจรรย์นี้ มาใช้ในการฝึกทักษะของน้องๆ แต่จะมีวิธีแบบไหนนั้น ต้องมาลุยไปด้วยกันอยากให้น้องๆพัฒนาทักษะ แถมยังสนุกอีกด้วย ทักมาได้เลยครับ
สนใจสมัครเรียน ติดต่อ
Line : @codelab
Line : https://lin.ee/yWlVRmC
โทร : 086-611-6911